เข้าใจลูกค้า เพื่อที่เราจะได้เพิ่มโอกาสมนการขายสินค้าหรือบริการของเราให้มากขึ้น ยิ่งเราอยู่ในยุคของ BIG DATA ที่ข้อมูลกลายเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ หลายบริษัทได้มีการนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลลูกค้า...
เข้าใจลูกค้า เพื่อโอกาสในการเพิ่มยอดขาย
เข้าใจลูกค้า เพื่อโอกาสในการเพิ่มยอดขาย
เข้าใจลูกค้า เพื่อที่เราจะได้เพิ่มโอกาสมนการขายสินค้าหรือบริการของเราให้มากขึ้น ยิ่งเราอยู่ในยุคของ BIG DATA ที่ข้อมูลกลายเป็นอาวุธสำคัญในการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจ หลายบริษัทได้มีการนำข้อมูลมาช่วยวิเคราะห์โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้อมูลลูกค้า ที่จะนำมาประกอบการวางแผนในเชิงกลยุทธ์และในการบริหารจัดการแบบรายวัน (Day to Day management) เพราะเนื่องจากปัจจุบันมีการแข่งขันที่สูง ธุรกิจที่ปรับตัวได้อย่างรวดเร็วและใช้ข้อมูลประกอบการตัดสินใจได้อย่างมีประสิทธิภาพจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน สามารถเพิ่มยอดขายได้ทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ซึ่งในการเพิ่มยอดขายปัจจุบันสามารถทำได้หลายวิธี ด้วยบทความนี้จะนำวิธีการต่างๆ ที่เข้าใจได้ง่ายๆ ว่าเราจะเพิ่มยอดขายของเราได้ในทิศทางไป ทำให้เราสามารถเดินทางไปในทางทิศที่ถูกต้อง และไม่เสียเวลา
เข้าใจลูกค้า เพื่อโอกาสในการเพิ่มยอดขาย
ในที่นี้ ขอวิเคราะห์เฉพาะในส่วนของการเพิ่มจำนวนชิ้นที่ขายก่อน จากภาพเรามาเริ่มจากด้านซ้ายมอกันก่อน โดยเราจะเห็นว่ามีอยู่ 2 ประเด็นด้วยกัน มาเริ่มกันเลย
1. ประเด็นแรก: เพิ่มลูกค้าใหม่
วิธีเพิ่มยอดขายโดย เพิ่มจำนวนลูกค้าใหม่ หรือ เพิ่มฐานลูกค้า ซึ่งควรพิจารณาว่าลูกค้ากลุ่มเป้าหมายที่เป็นลูกค้าใหม่ของเรา และเราจะทำให้กลุ่มเป้าหมายนี้ รู้จักแบรนด์และสินค้าของเรา จากงานวิจัยของบริษัท วีโร่ ได้จัดทำงานวิจัย “พลังของการตลาด โดยอาศัย อินฟลูเอนเซอร์” โดยสัมภาษณ์คนไทยอายุ 16 – 35 ปี จำนวน 300 คน ในปี 2018 พบว่า เมื่อถามถึงความไว้วางใจแล้วถ้าให้คะแนนเต็มจากความไว้วางใจ 10 คะแนน คนกลุ่มนี้ให้คะแนนความไว้วางใจจาก เพื่อนและครอบครัวมากที่สุด โดยให้คะแนน 7.3 คะแนน อินฟลูเอนเซอร์ 6.3 คะแนน เพื่อนที่โรงเรียนและที่ทำงาน 6.5 คะแนน เว็บไซต์บริษัท 6.4 คะแนน และเมื่อสอบถามว่ารู้จักผลิตภัณฑ์ที่ซื้อใช้ได้อย่างไร 23% ตอบว่า รู้จักจากเพื่อนและครอบครัว ขณะที่อินฟลูเอนเซอร์ 8% โฆษณาทีวี 7% และ เพื่อนร่วมงาน 6% เห็นได้อย่างชัดเจนว่า ลูกค้ายังคงเชื่อและไว้ใจคนใกล้ชิด เช่น คนในครอบครัว หรือเพื่อน มากกว่า อินฟลูเอนเซอร์ หรือแบรนด์ และยังรับรู้สินค้าและบริการจากคนใกล้ชิดมากกว่าสื่อต่างๆ ทั้งออนไลน์และสื่อออฟไลน์
จากตัวอย่างครีมกันแดด จะพบว่าคุณภาพและส่วนประกอบของสินค้า มีส่วนสำคัญทำให้ลูกค้าพิจารณาซื้อและซื้อใช้เป็นประจำ แต่กว่าจะผ่านมาถึงขั้นตอนที่ลูกค้ายินดีควักเงินในกระเป๋ามาซื้อสินค้านั้น ยังผ่านกระบวนการอีกหลายๆ กระบวนการทั้งการสืบค้นเปรียบเทียบข้อมูล การทดลองใช้สินค้าว่าได้ผลจริงหรือไม่ ซึ่งบริษัทมีหน้าที่ต้องเพิ่มโอกาสในการรับรู้ของลูกค้าต่อสินค้าและแบรนด์ รวมถึงพยายามทำให้ลูกค้าได้มีโอกาสทดลองสินค้าให้ได้มากขึ้น เพื่อชักจูงให้ลูกค้าเข้ามาสู่ขั้นตอนของการทดลองใช้ผลิตภัณฑ์ให้เร็วที่สุด เหมือนหลายๆ สินค้าที่มักมีแจกตัวอย่างให้ลูกค้าเพื่อทดลองใช้หรือทดลองดื่ม เพื่อเพิ่มโอกาสในการขายผลิตภัณฑ์นั่นเอง หัวใจสำคัญของขั้นตอนนี้คือ พยายามแจกให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมายที่มีความจำเป็นที่ต้องใช้สินค้าของเราและมีโอกาสซื้อต่อไปในอนาคต นอกจากนี้การทำ SEO (Search Engine Optimization) เพื่อลูกค้าสามารถสืบค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์และสินค้าได้ง่าย เป็นส่วนหนึ่งในการเพิ่มโอกาสการรับรู้จากลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย จึงเป็นเครื่องมือที่บริษัทไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
2. ประเด็นที่สอง: เพิ่มความถี่ในการใช้สินค้ากับลูกค้าปัจจุบัน
วิธีเพิ่มยอดขายโดย เพิ่มความถี่ในการใช้สินค้ากับลูกค้าปัจจุบัน ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับสินค้าและบริการที่เราขายให้กับลูกค้า ว่ารอบความถี่ในการซื้อสินค้าหรือมาใช้บริการของลูกค้าแต่ละครั้ง ใช้เวลาเท่าไร เพื่อในมาประกอบกับข้อมูลของลูกค้า (เท่าที่มีหรือที่หาได้) มาใช้ในการวางแผนเพิ่มยอดขายจะทำให้บริษัทรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ เริ่มจากการวิเคราะห์ 4 แกน ดังนี้
แกนที่ 1
สิ่งที่ลูกค้าอยากได้ และเราทำได้ดี ข้อนี้คือจุดแข็งของแบรนด์ ที่บริษัทต้องรักษาไว้และพยายามหาจุดแข็งอื่นๆ มาเพิ่ม เพื่อสร้างความได้เปรียบในการแข่งขันทางธุรกิจ โดยข้อมูลในส่วนนี้ สามารถดูได้จากอันดับสินค้าที่ขายดีของบริษัท และการให้ Feedback จากลูกค้าซึ่งผู้ที่สามารถให้ข้อมูลส่วนนี้ได้ดีคือ พนักงานขาย ที่มีโอกาสได้พูดคุยกับลูกค้า หรือถ้าไม่มีหน้าร้านอาจจะดูจาก Review ที่ลูกค้าเขียนเกี่ยวกับสินค้าของเราก็ได้ หรือสามารถทำ QR code แนบไปกับสินค้า (แนะนำว่าอาจจะเป็นสินค้าตัวอย่างเพื่อแจกให้กับลูกค้า) เพื่อให้ลูกค้าช่วยแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสินค้า เป็นต้น
แกนที่ 2
สิ่งที่ลูกค้าอยากได้ แต่เราทำได้ไม่ดี ข้อนี้เป็นจุดที่บริษัทควรหาสาเหตุที่แท้จริงของปัญหาและรีบแก้ไขโดยเร่งด่วนเนื่องจากจะทำให้ลูกค้าปัจจุบันหรือลูกค้าประจำนั้น เปลี่ยนไปซื้อสินค้ายี่ห้ออื่นได้ ข้อมูลลักษณะนี้สามารถดูจากยอดขายสินค้า และ Feedback ของลูกค้าจากทีมพนักงานขาย จากการ Review สินค้าของลูกค้าที่กล่าวถึงแบรนด์ในด้านลบ หรือหากเป็นไปได้ขอแนะนำให้ลองพูดคุยกับลูกค้าที่เคยใช้สินค้าของเราและปัจจุบันเลิกใช้ไปแล้ว เพื่อหาทราบถึงปัญหา อุปสรรคในการใช้สินค้าของเราจากมุมมองของลูกค้า โดยควรเก็บข้อมูลให้ครบถ้วนทั้งมิติของอารมณ์ความรู้สึกที่มีต่อแบรนด์สินค้าและคุณสมบัติของสินค้า เพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงต่อไป
แกนที่ 3
สิ่งที่ลูกค้าไม่อยากได้ แต่เราทำได้ดี ข้อนี้ถือว่าเป็นมูลค่าเพิ่มที่เราทำให้กับลูกค้า แต่ในมุมของลูกค้าอาจจะมองว่ามีหรือไม่มีก็ได้ ไม่มีผลต่อการซื้อสินค้ามากเท่ากับ แกนที่ 1 และ แกนที่ 2 ที่กล่าวมาข้างต้น ดังนั้นหากเรามีเวลาหรือทรัพยากรจำกัด เราควรให้ความสำคัญในการแก้ปัญหาที่อยู่ในแกนที่ 2 และรักษามาตรฐานของสินค้าและบริการ ที่อยู่ในแกนที่ 1 จะดีกว่า ยกตัวอย่าง เช่น แบบฟอร์มของชุดพนักงานในร้านกาแฟ อาจจะไม่ส่งผลกระทบต่อราคาของกาแฟหรือรสชาติของกาแฟที่ลูกค้าต้องการ
แกนที่ 4
สิ่งที่ลูกค้าไม่อยากได้ และเราทำได้ไม่ดี ข้อนี้ถือว่าโชคดีแล้วที่ลูกค้าไม่อยากได้ เพราะถ้าลูกค้าอยากได้ และเราทำได้ไม่ดี จะกลายเป็นปัญหาที่เราต้องแก้ไขที่อยู่ในแกนที่ 2 ข้างต้น
การเพิ่มยอดขายในด้านของราคา
ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะเพิ่มราคาแล้วทำให้ลูกค้ายอมรับและยังคงซื้อสินค้าต่อไปได้ หลายๆ แบรนด์จึงใช้ 2 วิธีในการเพิ่มราคาสินค้า ได้แก่ การพัฒนาสินค้าใหม่ (New product development) และ การปรับปรุงสินค้าเดิม (Rebranding) โดยขอวิเคราะห์ 2 ประเด็นดังต่อไปนี้
3. การพัฒนาสินค้าใหม่ (New product development)
ปัจจุบันหากท่านเข้าไปในร้านสะดวกซื้อ หรือซุปเปอร์มาร์เก็ตต่างๆ จะพบว่ามีสินค้าใหม่ๆ อยู่เต็มชั้นวางสินค้า เนื่องจากทุกแบรนด์ก็ต้องการเพิ่มยอดขายและส่วนแบ่งการตลาดให้กับตัวเอง ซึ่งเราก็จะพบได้ว่าบางผลิตภัณฑ์ออกมาได้ไม่นานก็จะหายไปจากตลาด เพื่อลดความเสี่ยงในการพัฒนาสินค้าใหม่ ในที่นี้ขอเสนอขั้นตอนพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่แบบง่ายๆ และตรงกับความต้องการที่แท้จริงของลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย ซึ่งขั้นตอนต่างๆ มีดังนี้
ขั้นตอนที่ 1
ค้นหาความต้องการเชิงลึกจากกลุ่มเป้าหมาย (Customer insight) พูดคุยกับลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย หรือ พยายามรับฟังเสียงของลูกค้าว่าจริงๆ แล้วความต้องการเชิงลึกของลูกค้าคืออะไร เช่น ลูกค้าผู้หญิงมีความกังวลกับริ้วรอยบนใบหน้า ไม่ได้ต้องการแค่ครีมลดริ้วรอย แต่ แต่สิ่งที่ต้องการจริงๆ คือ ต้องการหน้ากระจ่างใส ไม่มีริ้วรอย ให้คนทักว่าหน้าเด็กกว่าอายุจริง
ขั้นตอนที่ 2
นำข้อมูลที่ได้มาพัฒนาผลิตภัณฑ์จำลอง (Prototype)
ขึ้นมา ขั้นตอนนี้แนะนำให้เขียนหรือวาดรูปออกมาให้มีความใกล้เคียงกับผลิตภัณฑ์จริงที่จะออกวางขาย ควรมีรายละเอียดของผลิตภัณฑ์ ส่วนผสม หรือสารประกอบต่างๆ และราคาเพื่อให้ลูกค้ากลุ่มเป้าหมายได้ดูและอ่าน จากนั้นจึงฟังความคิดเห็นจากลูกค้าอีกครั้ง เช่น ลูกค้าอาจจะมีความกังวลในสารเคมีบางอย่างที่ทำให้หน้าขาว หรือมีความกังวลว่าจะแพ้สารเคมี ไม่มั่นใจว่าใช้แล้วจะได้ผล หรือมีคำถามเพิ่มเติมว่า ใช้แล้วหน้าจะขาวใสในกี่วัน ต้องใช้กี่กระปุกจึงจะขาว มีสถาบันวิจัยรับรองหรือไม่ เป็นต้น
ขั้นตอนที่ 3
วิเคราะห์ผลจากสิ่งที่ลูกค้าบอก เพื่อนำมาปรับปรุงผลิตภัณฑ์อีกครั้งจนเป็นผลิตภัณฑ์จำลองที่ 2 (Prototype 2)และนำไปพูดคุยกับลูกค้าอีกครั้ง เหมือนขั้นตอนที่ 2 จนมั่นใจว่าได้แก้ไขปัญหาหลัก ๆ และคำถามที่ลูกค้าสอบถามได้ครบถ้วนแล้ว
ขั้นตอนที่ 4
พัฒนาผลิตภัณฑ์แล้วจึงวางขายในตลาด ติดตามผลยอดขายและการตอบรับจากลูกค้าเพื่อปรับปรุงสินค้าและบริการเป็นระยะๆ และควรวิเคราะห์ประกอบกับแกน 4 แกนที่ได้กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ เพื่อหาข้อดีข้อเสียของผลิตภัณฑ์ต่อไป
4. การปรับปรุงสินค้าเดิม (Rebranding)
ในการที่บริษัทจะปรับปรุงสินค้าเดิมหรือรีแบรนด์นั้น ควรพิจารณาประเด็นต่างๆ ต่อไปนี้
บริษัทเองต้องการขยายตลาด
บริษัทต้องการปรับตามกลุ่มเป้าหมาย
มีคู่แข่งเข้ามาในตลาดมากขึ้น
เพิ่มความเข้มข้นให้กับสินค้าเดิม หรือเพิ่มปริมาณให้มากขึ้น เช่น ซุปไก่สกัด เพิ่มปริมาณซุปไก่ เพิ่มขนาดของขวดซุปไก่ และเพิ่มราคาขาย โดยสื่อสารให้ลูกค้ารู้ว่าจะได้ประโยชน์จากการเพิ่มปริมาณ 100% เป็นต้น หรือ ครีมทาผิวที่เพิ่มสารป้องกันแดด SPF ที่ค่าสูงขึ้น เพิ่มส่วนผสมมากขึ้น เป็นต้น
การปรับเปลี่ยนฉลากหรือบรรจุภัณฑ์ ให้ดูทันสมัยมากขึ้น เช่นน้ำอัดลม ที่ปรับเปลี่ยนฉลากเพื่อให้แบรนด์มีความทันสมัยตลอดเวลา ไม่ดูล้าสมัยหรือแก่ไปตามอายุของแบรนด์ที่ผลิตสินค้ามา
อย่างไรก็ตามสิ่งที่ควรระวังในการปรับปรุงสินค้าเดิม ควรทดสอบหรือพูดคุยแลกเปลี่ยนกับลูกค้าปัจจุบันก่อน เพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้น เช่น ผลิตภัณฑ์อาหารยี่ห้อหนึ่ง ได้เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ จากสีเขียว เป็นสีดำเพื่อให้ดูพรีเมี่ยมขึ้น แต่ลูกค้าคุ้นชินกับบรรจุภัณฑ์ที่เป็นสีเขียวที่เป็นสีประจำของแบรนด์ จึงทำให้ลูกค้าหาสินค้าไม่เจอ ส่งผลกระทบต่อยอดขายเป็นต้น
สรุป
การที่เราจะทำให้ธุรกิจของเรานั้นมีกำไรมากยิ่งขึ้น นหรือขายได้มากขึ้นนั้นมีหลายสิ่งที่ทำให้เรานั้นต้องพิจารณา ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนชิ้นของสินค้าให้มากขึ้น หรือการขึ้นราคาของสินค้าของเรา ในตลาดเองเราจะเห็นตัวอย่างสินค้า หรือบริการมากมาย ที่ใช้กลยุทธอย่างนั้น อย่างนี้กับเรา แต่สิ่งหนึ่งที่จะทำให้ธุรกิจของเราเติบโต และไปได้ดี คือเราเองต้องเข้าใจลูกค้าของเรา เข้าใจว่าลูกค้าของเรานั้นต้องการอะไร การจะได้มาซึ่งความต้องการของลูกค้านั้น เราก็ต้องลงสนามจริง ถามจากลูกค้าเอาตรงๆ เลยว่าอยากได้อะไร ไม่ชอบอะไร
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
Source: https://www.tryberesearch.com/blog/brand-funnel/
Source: พลังของการตลาด โดยอาศัย อินฟลูเอนเซอร์ โดยบริษัท วีโร่ ,2018
ปรุงโดย: ธิติพันธ์ สุวรรณจันทร์
นักเขียนอิสระ
ด้วยประสบการณ์การทำงานมากว่า 10 ปี ไม่ว่าจะเป็นด้านวิเคราะห์ข้อมูลของสินค้าที่เป็นแทรนด์ในปัจจุบัน หรือ การพัฒนาสินค้าใหม่ให้เกิดขึ้น การเข้าใจผู้บริโภาค ณ ปัจจุบันทำงานในตำแหน่ง Consumer insight & Strategy Manager ที่บริษัท Oishi Group PCL ชอบการจะเขียนบทความ และนำความรู้ ความสามารถที่ตัวเองมีแล้วส่งต่อออกมาเป็นบทความด้านการตลาด
#นักเขียนของเรา
บทความที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
เข้าใจลูกค้า เพื่อโอกาสในการเพิ่มยอดขาย
เข้าสู่ยุคการตลาด 4.0 รออะไรกัน เขาไปกันหมดแล้ว
เข้าสู่ยุคการตลาด 4.0 ยุคที่ความสำเร็จของการทำธุรกิจ ขึ้นกับ อำนาจที่อยู่ในมือของผู้บริโภค ที่เชื่อมโยงถึงกัน มาย้อนรอยวิวัฒนาการการตลาด และการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค Marketing 4.0 หรือ การตลาด 4.0 เวลาที่ได้ยินแล้ว หมายถึง...
ทางรอดพร้อมโอกาส หรือ ความกังวลและยอมถูกทำลาย คุณเลือกที่จะเป็นได้
<br /> ทางรอดและโอกาส (Chance) หรือ มองด้วยความกังวลและยอมถูกทำลาย (Disrupt) อยู่ที่คุณเลือก...มอง กับ ตลาดนัดร้านค้าออนไลน์ หรือ e-Marketplace ธุรกิจในโลกยุคดิจิตอล มองเห็นเป็น เมื่อโลกยุคดิจิตอล ยุคที่มนุษย์ถูกลดบทบาท แต่เทคโนโลยีจะฉลาดขึ้นเรื่อยๆแทน...